ตระกร้อ

ประวัติตะกร้อ

ประวัติตะกร้อ ประวัติตะกร้อไทย


กำเนิดกีฬาเซปักตะกร้อ

ระหว่างเดือน มีนาคม-เมษายน 2508 (March-April 1965) สมาคมกีฬาไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดงานเทศกาล กีฬาไทย โดยจัดให้มีการแข่งขัน ว่าว, กระบี่-กระบอง และตะกร้อ ณ ท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร ซึ่งครั้งนั้น สมาคมกีฬาตะกร้อ จากเมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย ได้นำวิธีการเล่นตะกร้อของ มาเลเซีย คือ เซปัก รากา จาริง มาเผยแพร่ให้คนไทยรู้จัก ในเชิงเชื่อมสัมพันธไมตรี และได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกติกาของตะกร้อไทยด้วย
สมาคมกีฬาไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดให้มีการสาธิตกีฬาตะกร้อของทั้งสองประเทศ ระหว่างไทย กับ มาเลเซีย โดยผลัดกันเล่นตามกติกาของ มาเลเซีย 1 วัน, เล่นแบบกติกา ของไทย 1 วัน

กติกาของไทยสมัยก่อน เรียกว่า ตะกร้อข้ามตาข่าย สาระสำคัญของกติกาพอสังเขป ดังนี้

1. สนามแข่งขันและตาข่ายคล้ายกันกับ กีฬาแบดมินตัน (ความยาวสนามสั้นกว่า)
2. จำนวนผู้เล่นและคะแนนการแข่งขัน
2.1 การเล่น 3 คน แต่ละเซท จบเกมที่ 21 คะแนน (แข่งขัน 2 ใน 3 เซท)
2.2 การเล่น 2 คน (คู่) แต่ละเซท จบเกมที่ 15 คะแนน (แข่งขัน 2 ใน 3 เซท)
2.3 การเล่น 1 คน (เดี่ยว) แต่ละเซท จบเกมที่ 11 คะแนน (แข่งขัน 2 ใน 3 เซท)
3. ผู้เล่นแต่ละคน-แต่ละทีม สามารถเล่นได้ไม่เกิน 2 ครั้ง (2 จังหวะ)
4. ผู้เล่นแต่ละคน-แต่ละทีม ช่วยกันไม่ได้ หากผู้ใดถูกลูกตะกร้อจังหวะแรก ผู้นั้นต้องเล่นลูกให้ข้ามตาข่ายต่อไป
5. การเสิร์ฟ แต่ละคนต้องโยนและเตะลูกด้วยตนเองตามลำดับกับมือ ซึ่งเรียกว่ามือ 1, มือ 2 และมือ 3 

ที่มาของคำว่า เซปักตะกร้อ

– และได้ตั้งชื่อกีฬาตะกร้อนี้ว่า เซปัก-ตะกร้อ เป็นภาษาของ 2 ชาติรวมกัน กล่าวคือคำว่า เซปัก เป็นภาษามาเลเซีย แปลว่า เตะ คำว่า ตะกร้อ เป็นภาษาไทย หมายถึง ลูกบอล

การก่อตั้งสมาคมตะกร้อแห่งประเทศไทย

ในช่วงที่ พลโทผเชิญ นิมิบุตร ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมกีฬาไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อนำไปสู่การพัฒนากีฬาเซปักตะกร้อภายในประเทศไทยอย่างมากมายหลายประการ ซึ่งเหตุการณ์ที่สำคัญได้แก่
ปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) คณะกรรมการบริหารสมาคมกีฬาไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เห็นว่าสมาคมกีฬาไทยฯ มีความรับผิดชอบ กีฬาไทย หลายประเภท ดูแลไม่ทั่วถึง ไม่สามารถพัฒนากีฬาเซปักตะกร้อ ให้ก้าวหน้า

ประวัติสมาคมตะกร้อแห่งประเทศไทย

เมื่อปี พ.ศ. 2524 คณะกรรมการบริหารสมาคมกีฬาไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้มีมติและอนุมัติให้ พ.อ.(พิเศษ) เดชา กุลบุตร ขณะที่ท่านเป็นเลขาธิการสมาคมกีฬาไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และกรรมการบริหารสมาคมกีฬาไทยกลุ่มหนึ่ง ไปก่อตั้งและขอจดทะเบียนตั้งสมาคมขึ้นมาอีก 1 สมาคม เพื่อบริหารกิจกรรมกีฬาตะกร้อโดยเฉพาะ ใช้ชื่อว่า สมาคมตะกร้อ โดยทำการยื่นขอจดทะเบียนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 ในขณะที่กำลังดำเนินการจดทะเบียน ที่ประชุมได้มีมติให้ พ.อ.(พิเศษ) เดชา กุลบุตร รักษาการเป็นนายกสมาคมตะกร้อ โดยมีนายนพชัย วุฒิกมลชัย ผู้ทำหน้าที่เป็นเลขาธิการสมาคมฯ ต่อมาเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2526 สมาคมได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสมาคม ตามเลขที่อนุญาต ที่ ต.204/2526 เลขคำขอที่ 204/2526 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. เป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ไมตรีระหว่างประเทศให้ดียิ่งขึ้น
2. เป็นการส่งเสริม และสนับสนุนกีฬาตะกร้อให้แพร่หลายยิ่งขึ้น
3. จัดการแข่งขันภายในประเทศ และนอกประเทศ
4. เผยแพร่ให้เยาวชน สถาบันการศึกษา โรงเรียน และรัฐวิสาหกิจ ให้มีการแข่งขันมากขึ้น
5. จัดให้มีการควบคุมให้อยู่ในขอบข่าย และจัดให้มีการแข่งขันในระดับต่างๆ มากยิ่งขึ้น
6. ตั้งศูนย์อบรม เผยแพร่ให้แก่เยาวชน และประชาชนทั่วไป
7. ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง
https://www.educatepark.com/story/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2/

ความคิดเห็น